วันศุกร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2555

ประวัติ ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป

ปี 1956
           เป็นปีต้นกำเนิดของ ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป โดยใช้ชื่อทัวร์นาเม้นท์ว่า "European Nations' Cup" จากนั้นอีกสองปีจึงเปลี่ยนมาใช้ "UEFA European Championship" ดังเช่นที่รู้จักกันในปัจจุบัน แต่เดิมนั้นรูปแบบของการแข่งขันของ “ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป” นั้น จะมีระบบการแข่งขันที่แตกต่างไปจากปัจจุบัน โดยจะแข่งกันแบบทีมเหย้าและทีมเยือนโดยนับผลแพ้ชนะตกรอบ จนถึงรอบรองชนะเลิศ ซึ่งจะทำการแข่งขันในประเทศที่รับหน้าเสื่อเป็นเจ้าภาพ  ปี 1960             ประเทศฝรั่งเศส เป็นชาติแรกที่รับหน้าที่เป็นเจ้าภาพฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปในศักราชใหม่ คือ มีชาติยุโรปส่งทีมเข้าร่วมแข่งขันทั้งสิ้น 17 ทีม โดยมีเมือง มาร์กเซย และ ปารีส เป็นสังเวียนฟาดแข้งในรอบรองชนะเลิศ, ชิงอันดับสาม และชิงชนะเลิศ และก็เป็นขุนพลลูกหนังของประเทศสหภาพโซเวียต ที่คว้าแชมป์จ้าวยูโรปไปครองได้เป็นชาติแรกด้วยการเฉือนชนะ ทีมชาติ ยูโกสลาเวีย ไป 2-1 ในช่วงต่อเวลาพิเศษ ท่ามกลางแฟนบอลที่เป็นสักขีพยานในสนาม สต๊าด ปาร์ค เดอ ปริ๊นซ์ ในกรุงปารีส กว่า 18,000 คน 

ปี 1980  

          มีการเปลี่ยนแปลงระบบการแข่งขัน 8 ทีมที่ผ่านเข้าสู่รอบสุดท้าย ที่ อิตาลี เป็นเจ้าภาพ จะถูกแบ่งออกเป็นสองสายและแข่งแบบพบกันหมด จากนั้นจึงทีมที่มีคะแนนสูงสุดจะเข้าสู่รอบสุดท้ายที่อิตาลีซึ่งในปีนั้น เยอรมนี เข้าไปพบ เบลเยี่ยมในรอบสุดท้ายที่กรุงโรม และขุนพลนาซีครองแชมป์ด้วยสองประตูของ ฮอร์สต์ ฮรูเบซ พาให้เยอรมนีครองชัยในปีนั้น ด้วยสกอร์ 2-1 

ปี 1984  
          มีการยกเลิกการชิงตำแหน่งที่สามจากการแข่งขันฟุตบอลรายการนี้และทำให้หลังจากนั้นเป็นต้นมาทีมที่แพ้ในรอบรองชนะเลิศจะไม่ต้องมาเตะชิงที่สามกันรวมทั้งยกเลิกทีมอันดับสามออกจากรายการแข่งขันไปด้วย ทำให้คงเหลือแต่ตำแหน่งแชมป์ กับ รองแชมป์ ที่ผ่านเข้าไปในรอบชิงชนะเลิศได้เท่านั้น 

ปี 1996 
          การแข่งขันฟุตบอลแห่งชาติยุโรปเริ่มได้รับความสนใจจากประเทศน้อยใหญ่ที่อยู่ในเครือข่ายมากขึ้น มีทีมที่แจ้งความประสงค์จะเข้าร่วมการแข่งขันถึง 48 ทีม รูปแบบการแข่งขันจึงเปลี่ยนไปอีกครั้ง จาก 48 ทีม ฝ่ายจัดการแข่งขันและฟีฟ่าได้ตัดสินใจเพิ่มโควต้าทีมในรอบสุดท้ายเป็น 16 ทีมเป็นครั้งแรก เพื่อพาเหรดกันเข้าสู่เกาะอังกฤษเพื่อแข่งขันในรอบสุดท้าย  
          โดยการแข่งขันยูโรฯ รอบสุดท้ายในครั้งนั้น รอบแรกแบ่งออกเป็นสี่สายและทีมที่มีคะแนนอันดับที่หนึ่งและสองก็จะเข้าสู่รอบก่อนรองชนะเลิศ ซึ่งใช้ระบบแพ้ตกรอบ จากนั้นก็จะทะลุผ่านเข้าไปถึงรอบรองชนะเลิศซึ่งมีสี่ทีม และคู่ชิง  
          นอกจากนี้ยังได้มีการนำกฎ “โกลเด้นโกล” มาใช้งานเป็นครั้งแรก ในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปในครั้งนี้ด้วย โดยแชมป์ในครั้งนั้นก็คือ ทีมชาติเยอรมันนี หลังจากโอลิเวอร์ เบียโฮฟ ดาวยิงประจำทีม ซัดประตู "โกลด์เด้นโกล" ประวัติศาสตร์ เฉือนเอาชนะ สาธารณรัฐเช็กไปได้ 2-1 ในช่วงต่อเวลาพิเศษในรอบชิงชนะเลิศ 

ปี 2000  
          ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การจัดการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปรวมไปถึงการรายการฟุตบอลระดับนานาชาติที่มีสองชาติเป็นเจ้าภาพร่วมกันจัดการแข่งขัน นั่นคือ ประเทศเนเธอร์แลนด์ และ เบลเยี่ยม ปรากฎการดังกล่าวเกิดขึ้นก่อนที่ สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (International Football Association) หรือ ฟีฟ่า (FIFA) จะตัดสินให้ ประเทศ เกาหลีใต้ และ ญี่ปุ่น เป็นเจ้าภาพร่วม ในการจัดฟุตบอลโลกในอีก 2 ปีถัดมา  
          อย่างไรก็ตาม ชาติที่ได้ครองแชมป์ในปี 2002 นั่นคือ ทีม "ตราไก่" ฝรั่งเศส ซึ่งถือเป็นการครองถ้วย อองรี เดอลานี่ย์ เป็นครั้งที่สองของทีมหลังจากที่ดาวิด เทรเซเกล ดาวยิงตัวสำรองที่ถูกเปลี่ยนตัวลงมา ซัดประตู "โกลเด้นโกล" เฉือน ทีม "อัซซูรี่ " อิตาลี ไปได้ 2-1 ในช่วงต่อเวลาพิเศษ 


ปี 2004 
          ประเทศโปรตุเกส เป็นเจ้าภาพ ได้มีการยกเลิกกฎ "โกล์เด้นโกล์" และนำกฎ "ซิลเวอร์โกล์" มาใช้แทน โดยแต่เดิมนั้นกฎ "โกลเด้นโกล์" จะใช้ในกรณีที่คู่แข่งขันลงเล่นในช่วงต่อเวลาพิเศษ 30 นาที ซึ่งหากทีมใดทำประตูได้ก่อนในช่วงเวลาดังกล่าว เกมก็จะยุติทันที  
          ขณะที่ กฎ "ซิลเวอร์โกล" นั่น จะใช้ในกรณีที่คู่แข่งขันลงเล่นในช่วงต่อเวลาพิเศษ 30 นาทีเช่นกัน แต่ต่างตรงที่ หากทีมได้ทำประตูได้ก่อนเกมจะยังไม่ยุติทันที แต่จะรอให้หมดเวลาในช่วงต่อเวลาพิเศษในครึ่งแรก 15 นาทีเสียก่อน เกมถึงจะยุติ นั่นหมายความว่า ยังให้โอกาสทีมที่โดนนำทำประตูตีคืนให้ได้ในช่วงเวลาที่เหลือดังกล่าวนั่นเอง  
          สำหรับการแข่งขันในปีนั้น ได้มีการนำ กฏ "ซิลเวอร์โกล" มาใช้เพียงครั้งเดียวในรอบก่อนรองชนะเลิศในเกมระหว่าง ทีมชาติกรีซ พบกับ สาธารณรัฐเช็ก ก่อนที่ ทีมจากดินแดนเทพนิยายจะเอาชนะไปได้ และก้าวไปคว้าแชมป์ยูโรได้เป็นสมัยแรกของทีมได้อย่างยิ่งใหญ่ ในท้ายที่สุด ด้วยลูกโหม่งของ จอร์จ อันดราเด้ เซ็นเตอร์แบ็ค ปลิดชีพ ทีมเจ้าภาพอย่างโปรตุเกส ไปด้วยสกอร์ 1-0 พร้อมกับสร้างตำนานอีกหน้าหนึ่งให้กับรายการฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปให้กล่าวขวัญถึงอีกนานเท่านาน 


ปีล่าสุด 2008 
          การแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปในครั้งนี้ จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 13 โดยมีประเทศ ออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพร่วมกันในการจัด ฟุตบอลยูโร 2008 รอบสุดท้าย ซึ่งจะระเบิดศึกขึ้นในระหว่างวันที่ 7 มิถุนายน ถึง 29 กรกฎาคม 2008 โดยมี 16 ชาติแกร่งที่ต้องฝ่าด่านอรหัตน์จากรอบคัดเลือกกว่า 51 ทีมทั่วทวีปยุโรป ที่ทำการแข่งขันตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2006 เป็นต้นมา จนสามารถผ่านเข้ามาเล่นในรอบสุดท้ายได้ สำหรับประเทศเจ้าภาพจะได้สิทธิ์ผ่านเข้ารอบโดยอัตโนมัติ นั่นหมายความว่า ออสเตรีย และ สวิตเซอร์แลนด์ จะเป็น 2 ทีมแรกที่เข้าไปรอบนสังเวียนเรียบร้อยแล้ว ทำให้เหลือตั๋วเพียง 14 ใบเท่านั้น ที่ทีมต่างๆ จะต้องแย่งชิงมาครองให้ได้ 
          อาจกล่าวได้ว่า การเป็นเจ้าภาพร่วมสองชาติระหว่าง ออสเตรียและ สวิตเซอร์แลนด์ ในครั้งนี้ ถือเป็นความไว้วางใจจากสมาคมฟุตบอลยุโรป ในการตัดสินใจให้มีเจ้าภาพร่วมกันเป็นครั้งที่สามแล้ว นับตั้งแต่จัดการแข่งขันฟุตบอลรายการนี้ขึ้นมา โดยก่อนหน้านี้ ประเทศ เบลเยี่ยม และเนเธอร์แลนด์ ก็ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพร่วมกันมาแล้วในปี 2000 นอกจากนี้ ในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์ยุโรป ปี 2012 ประเทศโปแลนด์ และ ยูเครน จะได้ทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพร่วมอีกครั้งเช่นกัน





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น